การรำไทยพื้นฐานเพื่อสุขภาพและความบันเทิง วิธีการทำงาน

การรำไทยมรดกของไทยและของโลก



ประวัติรำไทยพื้นฐาน

ประวัติ ศิลปะการนาฏศิลป์ไทย เป็นละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่า ทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้าง ขึ้นในปี พ.ศ. 1800  ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย  ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนัก ปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข  ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน








วัตถุประสงค์

1.เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
2.เพื่อให้เกิดความสวยงามและสร้างความประทับใจในงานเทศกาลต่างๆ
3.เป็นงานอดิเรกที่สามารถใช้ในการออกำลังกายยืดเส้นยืดกล้ามเนื้อได้ดี







แหล่งข้อมูลสถาบัน


หนังสือ รำไทย

ผู้แต่ง : ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา

สถานที่จัดเก็บ : ห้องสมุดชั้น 1


เป็นหนังสือที่สอนเกี่ยวกับรำไทยทุกๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรำไทยเบื้องต้น รำไทยพื้นฐาน รำไทยขั้นสูง หรือว่าจะเป็นประโยชน์ของรำไทย ประวัติความเป็นมาของรำไทย


 แหล่งบุคคล






1.who : นักศึกษานาฏศิลป์ ชื่อ ศุลีพร ราชกิจชอบ

2.what : สอนรำไทย

3.where : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

4.when : ทุกเวลาที่ว่าง

5.why : เพื่อส่งต่อความรู้เกี่ยวกับการรำไทย เสริมสร้างสุขภาพที่ดี
ให้กับผู้เรียนรำ ทำให้เกิดความบันเทิงในการร่วมกิจกรรม รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย

Q: สวัสดีค่ะ วันนี้นะค่ะ เราก็จะมาสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญหรือว่าคนที่มีความถนัดทางด้านการรำไทยนะค่ะ ซึ่งรำไทยเนี่ยก็เป็นมรดกของวัฒนธรรมไทยนะค่ะ ซึ่งเราจะมาติดตามกันตามนี้ค่ะ สวัสดีค่ะคุณมายนะค่ะ ค่ะ ประเภทของการรำนะค่ะแบ่งตามโขนละครกี่ประเภท อะไรบ้างค่ะ


    A: ค่ะ การรำนะค่ะ แบ่งเป็น 2 ลักษณะค่ะ อย่างแรกก็คือ การรำหน้าพาทย์นะค่ะ เป็นการรำประกอบท่าทางตามเพลงวงปีพาทย์ค่ะ การบรรเลงเพลงประกอบโขนละครอะไรแบบนี้อะค่ะ ส่วนอย่างที่สองนะค่ะ คือการรำบทค่ะ จะเป็นการรำที่ประกอบท่าทางแทนลักษณะ คำพูดนะค่ะ เช่น ตัวนางมีท่าทางเขินอาย ก็จะทำแบบนี้นะค่ะ (ทำท่าเขินอายของตัวนาง)




  Q: ค่ะประเภท ของการรำมีกี่ประเภท อะไรบ้างค่ะ

  A: การรำนะค่ะมีสามประเภทค่ะ ก็คือ การรำเดี่ยวนะค่ะ การรำเดี่ยวก็คือการใช้นักแสดงเพียงคนเดียวนะค่ะ เช่น รำฉุยฉายวันทอง และ ฉุยฉายเบญจกายค่ะ  ประเภทที่สองนะค่ะเป็นรำคู่ซึ่งรำคู่ก็จะใช้ผู้แสดงสองคนนะค่ะ เช่น การรำเพลงอวยพร รำเบิกโรงอย่างงี้อะค่ะ ประเภทที่สามนะค่ะก็คือรำหมู่ค่ะ ป็นการใช้นักแดงหลายคนขึ้นไปค่ะ เช่น การรำเพลงระบำสุโขทัย ระบำลพบุรีเป็นต้นค่ะ

Q: แล้วการรำไทยมีประโยชน์อะไรบ้างค่ะ

A: การรำไทยถือว่าเป็นการออกกำลังกายและฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี เพราะการรำไทยมีลักษณะคล้ายโยคะที่การออกกำลังมีความเบาแต่ยืดหยุ่นและแข็งแรง มีการฝึกสมาธิที่ดี เพราะทุกช่วงของการร่ายรำออกท่าทางจะมีการคิดและควบคุมเสมอ


การรำไทยสามารถปรับความสมดุลร่างกาย ช่วยในการผ่อนคลายสมองและช่วยให้ร่างกายรู้สึกสงบ ร่างกายและจิตใจมีความสุข ทำให้ผู้รำมีสุขภาพที่ดีไปพร้อมกับความสนุกสนานความบันเทิง และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอีกด้วยนะค่ะ


แหล่งข้อมูลสื่อ












การรำไทยพื้นฐาน

ภาษานาฏยศัพท์


เป็นคลิปวีดีโอที่สอนเกี่ยวกับการรำพื้นฐาน เกี่ยวกับนาฏยศัพท์ต่างๆ ช่น การยิ้ม ดีใจ ร้องไห้ เขินอาย ลักษณะท่าทางต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออก


แหล่งข้อมูลอินเตอร์เนต






www.kwenloveyou.wordpress.com


เป็นเว็บไซด์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการรำไทยและนาฏยศัพท์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการสนใจหรือศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การรำไทยก็มีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคน นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วอยากช่วยฝึกสมาธิและขัดเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน ด้วยท่ารำที่อ่อนช้อยและเพลงที่มีภาษาสวยงาม ทำให้จิตใจมีความผ่อนคลายอีกด้วย


































สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ความคิดเห็น